top of page

การเก็บตัวอย่างพรรณไม้

การอัดแห้ง

การอัดพรรณไม้แห้ง

 

        การอัดพรรณไม้แห้งควรทำทันทีที่เก็บตัวอย่างพืชมา ไม่ควรทิ้งไว้นานหรือถ้ามีความจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างไว้ก่อนให้พรมน้ำแล้วใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่น จะสามารถเก็บได้นานประมาณ 1 - 2 วัน พรรณไม้ที่นำมาอัดแห้งควรมีตั้งแต่ 2 - 6 ชิ้น เพื่อป้องกันการเสียหายหรือสูญหายหรือเพื่อให้ผู้ที่สนใจต้องการนำไปเป็นตัวอย่าง
 

  • กลุ่มพืชที่มีใบยาว เช่น กก หญ้า ให้พับใบเป็นรูปตัว V N W หรือ M เพื่อให้พอเหมาะกับขนาดของกระดาษอัดพรรณไม้

  • พรรณไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถที่จะอัดได้ให้แยกส่วน เพื่อให้สะดวกต่อการอัด

  • พรรณไม้ที่มีใบและดอกบาง เช่น ชบา ให้ใช้กระดาษไขรองทั้งด้านบนและล่างเพื่อกันไม่ให้กลีบดอกติดกับกระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะฉีกขาดได้ง่ายเมื่อเปลี่ยนหรือนำออกมาจากกระดาษ

  • พรรณไม้ที่มีใบและดอกหนา มักขึ้นราได้ง่ายควรใช้กระดาษบางๆ ซับรองทั้งด้านบนและล่าง และก่อนที่จะอัดควรจุ่มลงในแอลกอฮอล์ 70-90 % หรือฟอร์มาลินเพื่อฆ่าเซลล์และจะทำให้พรรณไม้แห้งได้เร็วขึ้น 

  • พรรณไม้น้ำ ส่วนมากมีเนื้อบางและอ่อน จัดบนแผ่นกระดาษได้ยาก จึงควรนำพรรณไม้น้ำลงให้ถาดที่ใส่น้ำ สอดกระดาษไว้ใต้พรรณไม้แล้วเขี่ยพรรณไม้น้ำจัดรูปทรงให้เป็นธรรมชาติ ตามต้องการ แล้วค่อยๆยกกระดาษขึ้นจากถาด พักไว้ให้หมาดน้ำแล้วจึงนำไปอัดแห้ง 

 

วิธีอบพรรณไม้แห้ง

  1. ผึ่งแดด

  2. อบด้วยความร้อน โดยทำกล่องอบด้วยไม้ กระจก หรือ สังกะสี ใช้ความร้อนจากหลอดไฟฟ้า 80 วัตต์              หรือ 100 วัตต์

 

วิธีอาบน้ำยาพรรณไม้ 
                    พรรณไม้ที่อบแห้งสนิทแล้ว ต้องอาบน้ำยากันแมลง น้ำยาที่ใช้มีส่วนผสมดังนี้ 

  • เอทธิลแอลกอฮอล์ 95% 5 ลิตร 

  • เมอร์คูริค คลอไรด์ 75 กรัม

  • ฟีนอล 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร

  • แอลกอฮอล์ 1 ลิตร

  • เมอร์คูริค คลอไรด์ 28 กรัม

(ประนอม จันทรโณทัย, 2538)

Untitled-Scanned-13.jpg
Untitled-Scanned-12.jpg
Untitled-Scanned-07.jpg
Untitled-Scanned-05.jpg
bottom of page