top of page

การเก็บตัวอย่าง

พรรณไม้

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

      การศึกษาความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ในโรงเรียน จำเป็นต้องรู้จักชื่อพรรณไม้ทั้งชื่อพื้นเมืองและชื่อทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง ในบางครั้งไม่อาจจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องในภาคสนาม และบางครั้งก็ไม่สะดวกที่จะเก็บต้นไม้ที่ มีขนาดใหญ่ได้ จึงจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างบางส่วนที่มีลักษณะเด่นของพืชชนิดนั้น ๆ มาเพื่ออ้างอิง และสืบค้นจากเอกสาร

พรรณไม้ที่เก็บเพื่อนำมาอ้างอิงนั้นควรประกอบด้วย
              ใบประมาณ 4-5 ใบ มีดอกและผลติดอยู่อย่างสมบูรณ์มากที่สุด

วัตถุประสงค์ของการเก็บตัวอย่างพรรณไม้ มีดังนี้

  1. เพื่อนำมาวิเคราะห์หาชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ที่ถูกต้อง

  2. เพื่อเก็บตัวอย่างไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือมีไว้เพื่อเทียบเคียงตัวอย่างพรรณไม้ในเอกสารอ้างอิง หรือพิพิธภัณฑ์พืช

  3. เพื่อให้ทราบถึงจำนวนพืช ถิ่นกำเนิด และเขตการกระจายพันธุ์

  4. เพื่อเป็นการรวบรวมพรรณไม้ในโรงเรียน

อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพรรณไม้

  1. แผงอัดพรรณไม้ ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่น ๆ มาสานขัดกันห่าง ๆ เพื่ออัดพรรณไม้ให้เรียบ ไม่หักงอเมื่อแห้ง ให้ระบายความชื้นได้ดี นิยมใช้ขนาด 30x45 เซนติเมตร 

  2. กระดาษรองอัดพรรณไม้ โดยมากใช้กระดาษลูกฟูกหรือ กระดาษลัง เพื่อช่วยให้พรรณไม้เรียบและระบายความชื้นได้ดี

  3. กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อช่วยดูดซับความชื้นจากพรรณไม้

  4. เชือกสำหรับรัดแผงไม้ ยาวประมาณ 1 เมตร 2 เส้น 

  5. กรรไกรตัดกิ่ง หรือ มีด สำหรับตัดหรือแต่งกิ่งพรรณไม้ ให้มีขนาดพอเหมาะกับความต้องการและสามารถนำกลับมาสืบค้นข้อมูลได้ง่าย 

  6. ดินสอปากกาและสมุดบันทึก สำหรับบันทึกข้อมูลพรรณไม้ส่วนอื่นๆที่ต้องการ

  7. กระดาษเขียนข้อมูลพรรณไม้ ปลายด้านหนึ่งเจาะรูร้อยด้าย ใช้ผูกติดกับตัวอย่างพรรณไม้ เพื่อเขียนหมายเลข ชื่อพื้นเมือง วัน เดือน ปี และ สถานที่เก็บ เขียนชื่อผู้เก็บให้ตรงกับสมุดบันทึก 

  8. กล้องถ่ายภาพ เพื่อถ่ายภาพลักษณะถิ่นที่อยู่ ลักษณะพรรณไม้สีดอกและผล

Untitled-Scanned-11.jpg

การอัดแห้ง

bottom of page