top of page

การจำแนกพรรณไม้

ชื่อพฤกษศาสตร์

ชื่อพฤกษศาสตร์หรือชื่อวิทยาศาสตร์
(Botanical Name หรือ Scientific Name)


          นักพฤกษศาสตร์นิยมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชมากกว่าใช้ชื่อสามัญที่เรียกกันทั่วไป ในแต่ละชาติ แต่ละประเทศหรือแต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัดแต่ละภาคในประเทศไทย เรียกชื่อพืชชนิดเดียวกันไม่เหมือนกัน เช่น น้อยหน่า เป็นชื่อพื้นเมืองที่ใช้เรียกทางภาคกลาง แต่ทางภาคอีสานเรียกว่า หมากเขียบ ภาคใต้เรียกว่า ลาหนัง เวียดนามเรียกว่า กวาหนา กัมพูชาเรียกว่า เตรียบ อังกฤษเรียก Castard apple หรือ Sugar apple น้อยหน่าจึงมีชื่อวิทยาศาสตร์เพียงชื่อเดียวคือ Annona squamosa L.

        เป็นชื่อที่นักอนุกรมวิธานพืชหรือนักพฤกษศาสตร์ได้บัญญัติขึ้นไว้ใช้เป็นสากล (International) เพื่อใช้เรียกชื่อพืชแต่ละชนิด ให้มีความเข้าใจตรงกันในทุกประเทศ หรือทุกท้องถิ่น


หลักการบัญญัติชื่อวิทยาศาสตร์

     ชื่อตามลำดับของการจัดจำแนกนี้ใช้ภาษาละติน ตามผู้ริเริ่มจัดระบบการจัดจำแนกในศตวรรษที่ 18 บุคคลผู้นี้คือนักชีววิทยา  ชาวสวีเดนชื่อ คาร์ล ลินน์ ตัวท่านชอบให้เรียก ชื่อของท่านเป็นภาษาละตินว่า คาโรลัส ลินเนียส ดังนั้นหลักการบัญญัติชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 คำ ดังนี้ 

  • คำแรกเป็นชื่อสกุล (Generic Name) จะเขียนขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่เป็นตัวเอียง หรือ ตัวหนา หรือ ขีดเส้นใต้ เป็นชื่อที่ใช้บอกกลุ่มของพืชที่มีความคล้ายคลึงมากที่สุด

  • คำที่สองเป็นชื่อคำคุณศัพท์ระบุชนิด (Specific Epithet) จะเขียนขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กเป็นตัวเอียง หรือ ตัวหนา หรือ ขีดเส้นใต้ เป็นชื่อที่ใช้บอกถึงลักษณะเฉพาะของพืชชนิดนั้น ๆ ทั้งสองคำรวมกัน เป็นชื่อชนิดของพืชชนิดนั้น

  • คำที่สามเป็นชื่อผู้ตั้งชื่อ (Author) เขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ เป็นชื่อของนักพฤกษศาสตร์ที่ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชชนิดนั้น ๆ

 

ตัวอย่างการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ 

ชื่อพื้นเมือง จิก 
เต็ง (ภาคกลาง)
ชันตก (ตราด)
เคาะเจื้อ หรือ เจื้อ (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea obtuse Wall. 

 

ชื่อพื้นเมือง หมากเหลื่อม
มะเกิ้ม (ภาคเหนือ)
มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี)
โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium subulatum Guill
.

 

bottom of page