top of page

การจำแนกพรรณไม้

พฤกษศาสตร์เบื้องต้น

       การศึกษาพรรณไม้ หรือพืช ด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาหรือโครงสร้างภายนอกของพืช (Plant Morphology) การศึกษากายวิภาคศาสตร์หรือโครงสร้างภายใน (Plant Anatomy) การศึกษาสรีรวิทยาพืช (Plant Physiology) การศึกษาโครโมโซมพืช หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืช เช่น

  • เกษตรศาสตร์ (Agricultural Sciences)

  • เภสัชศาสตร์ (Pharmacology)

  • ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Product)

    สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก่อนลงมือศึกษาก็คือ ชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองของพรรณไม้นั้นๆ ประการต่อมาคือการจำแนกพรรณไม้ในอันดับต่าง ๆ และสิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือชื่อพฤกษศาสตร์หรือชื่อวิทยาศาสตร์ (Botanical Name หรือ Scientific Name) ของพรรณไม้ชนิดนั้น ๆ

     ดังนั้นจึงจำเป็นต้องค้นคว้าจากหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์โดย เฉพาะสาขาอนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy) เป็นหลักสำคัญซึ่งประกอบด้วยการจำแนกพรรณไม้ (Plant Classification) การตรวจสอบเอกลักษณ์พรรณไม้ (Plant Identification) และชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง

การจำแนกพรรณไม้ (Plant Classification)

        ในทางอนุกรมวิธานพืชจะมีการจำแนกพรรณไม้ออกเป็นกลุ่ม โดยมีหน่วยของการจำแนกเป็นระดับต่างๆ ซึ่งเรียงจากระดับใหญ่สุด ไปจนถึงระดับเล็กสุด ซึ่งกฎนานาชาติในการตั้งชื่อพืช ได้กำหนดหน่วยของการจำแนกไว้ดังนี้

Kingdom (อาณาจักร)

Division (หมวด)

Class (ชั้น)

Order (อันดับ)

Family (วงศ์)

Genus (สกุล)

Species (ชนิด)

helena-plate-782399-unsplash.jpg

ตัวอย่าง นักพฤกษศาสตร์จัดลำดับการจำแนกพืชดังนี้

ดอกทานตะวัน

Kingdom (อาณาจักร) พืช

Division (มวด) สเปิร์มาโตไฟต้า

Class (ชั้น) แองจิโอสเปิร์ม หรือพืชดอก

Bubclass (ชั้นย่อย) ไดโคทีลีโดนี่ หรือพืชใบเลี้ยงคู่

Order (อันดับ) แอสเทอราลีส

Family (วงศ์) คอมโพซิเต

Genus (สกุล) ครีสซานทิมัม

Species (ชนิด) ลูคานทิมัม

plant_cladogram.jpg

แผนภูมิลำดับพืช

IMG_5934.JPG

ชื่อพฤกษศาสตร์

bottom of page